ผีตาโขน - ประเพณีผีตาโขน - ประวัติผีตาโขน

ประเพณีผีตาโขน - ประวัติผีตาโขน

 

     มารู้จักวัฒนธรรม ประเพณีแห่ผีตาโขน ของชาว จังหวัดเลย กันดีกว่า หลายท่านที่เดินทาง มาท่องเที่ยวที่ จังหวัดเลย และได้เข้าไปกราบไหว้ ขอพร ที่ พระธาตุเจดีย์สองรัก ซึ่งเป็นปูชนียสถาน ที่สำคัญของชาว อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

     ประเพณีแห่ ผีตาโขน ทางการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญ และส่งเสริมให้เป็น เทศการแห่งการท่องเที่ยว ของจังหวัดเลย โดยประเพณีแห่ผีตาโขน นับได้ว่าเป็นงานบุญ ประเพณีใหญ่ ชาวพื้นบ้านจะเรียก ประเพณีแห่ผีตาโขนนี้ว่า “บุญผะเหวด” หรือ “งานบุญหลวง”  ซึ่งชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จะร่วมกันจัดงาน บุญผะเหวด ขึ้นทุกๆ ปี ในเดือน 7 เพื่อเป็นการ ให้ลูกหลานได้ ถือปฏิบัติ และจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนาน ความรักใคร่สามัคคี ร่วมกันสร้างกุศลผลบุญ ในการฟังเทศน์มาหาชาติ ประจำปีร่วมกัน

     ประเพณีแห่ ผีตาโขน หรือบางคนเรียก งานบุญใหญ่ หรืองานบุญหลวง หรือบุญผะเหวด หรืองานบุญเดือนเจ็ด จะจัดขึ้น ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยจะมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ และทำบุญพระธาตุศรีสองรัก โดยทั่วไป จะจัดงานเป็นเวลา 3 วัน

ในการแห่ ผีตาโขน จะจัดรูปขบวนเป็น 2 ชนิดคือ

  • ผีตาโขนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเป็นหุ่นรูปผี ที่ทำมาจากไม้ไผ่สาน และมีความใหญ่กว่า คนธรรมดาทั่วไป ประมาร 2 เท่า ตกแต่งหน้าตาด้วย วัสดุ ที่หาได้จากท้องถิ่น โดยในงานแต่ละปี จะมีผีตาโขนใหญ่ ได้เพียง 2 ตัว คือ ผีตาโขนชายหนึ่งตัว และผีตาโขนหญิงอีกหนึ่งตัวเท่านั้น ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำผีตาโขนใหญ่ ต้องทำผีตาโขนติดต่อกันอย่างน้อง 3 ปี และต้องได้รับอนุญาต จากผี หรือเจ้าทรงก่อน ถึงจะสามารถทำผีตาโขนใหญ่ได้
  • ผีตาโขนเล็ก เป็นผีตาโขนที่ทุกคน มีสิทธิ์ทำและ เข้าร่วมสนุกได้ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

 

     บนพื้นที่กว่า 9 ไร่ ภายในวัดร่องขุ่น นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับ สุดยอดงานศิลปะ ที่ได้มีการผสมผสาน แสดงออกให้เห็นถึง วิถีวัฒนธรรม ของชาวล้านนาได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะความงาม ของลวดลายปูนปั้น ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ งานฝีมือ งานแกะสลัก

อ่านต่อ..

ผีตาโขน - ประเพณีผีตาโขน - ประวัติผีตาโขน

ศิลปะวัฒนธรรมการสัก

การสักหรือ Tattoo นับได้ว่าเป็น ศิลปะ แขนงหนึ่ง ที่มีการเขียนสี ลงบนร่างกาย ของมนุษย์ โดยมีความเชื่อ ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ของแต่ละสังคม บางสังคมถือว่า การสักมีเป้าหมาย เพื่อความสวยงาม มีการบ่งบอกถึงเผ่า

อ่านต่อ...