คำขวัญของจังหวัดอ่างทอง “พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน”
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอ่างทอง
- จังหวัดอ่างทอง เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ทางด้าน ภาคกลางของ ประเทศไทย
- จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ทั้งหมดรวมกัน ได้ประมาณ 968.37 ตารางกิโลเมตร หรือมากกว่า 605,232.5 ไร่
- จังหวัดอ่างทอง นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ ไม่เล็กและไม่ใหญ่ โดยอ่างทองมีพื้นที่ใหญ่เป็น อันดับที่ 72 ของจังหวัดทั้งหมด ในประเทศไทย
- จากข้อมูลสถิติ ในปีพุทธศักราช 2564 อ่างทองมีประชากรทั้งหมด จำนวน 274,763 คน
- เมื่อครั้งสมัยที่กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ของประเทศไทย จังหวัดอ่างทอง นับได้ว่าเป็นเมือง ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในฐานะที่เมืองอ่างทอง เป็นเมืองหน้าด่าน โดยมีสมัยนั้นใช้ชื่อเมืองว่า “เมืองวิเศษชัยชาญ”
- เนื่องจากจังหวัดอ่างทอง มีพื้นที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีลักษณะ คล้ายๆกับอ่าง และไม่มีภูเขา อีกทั้งยังมีแม่น้ำ ที่สำคัญอยู่ถึงสองสาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย จึงทำให้พื้นที่ใน จังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่อันมี ความอุดมสมบูรณ์ เป็นอย่างมาก จึงเหมาะสำหรับ การทำอาชีพเกษตรกรรม เป็นอย่างมาก
- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา อำเภอวิเศษชัยชาญ และ อำเภอสามโก้
- ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ มะพลับ
- สัตว์น้ำประจัำจังหวัด คือ ปลาตะเพียนทอง
- อาณาเขตของจังหวัดอ่างทอง
- ทิศเหนือ จรดกับ จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี
- ทิศใต้ จรดกับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันออก จรดกับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันตก จรดกับ จังหวัดสุพรรณบุรี
เนื่องจากจังหวัดอ่างทอง มีพื้นที่ตั้งอยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร เพียง 108 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 หรือเส้นทางบางปะอิน-พยุหะคีรี ทำให้นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจ เดินทางมาเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก โดย สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดอ่างทอง ที่สำคัญได้แก่
- วัดป่าโมกวรวิหาร
- วัดขุนอินทรประมูล
- วัดไชโยวรวิหาร
- หมู่บ้านทำกลอง
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2478 และต่อมาได้ รับการประกาศให้เป็น อุทยานประวัติ ศาสตร์เมืองสิงห์ อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530
อ่านต่อ..