จังหวัดนนทบุรี - สถานที่ท่องเที่ยวนนทบุรี - คําขวัญประจําจังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี - สถานที่ท่องเที่ยวนนทบุรี - คําขวัญประจําจังหวัดนนทบุรี

 

     คำขวัญของ จังหวัดนนทบุรี “พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ”

 

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนนทบุรี

  • จังหวัดนนทบุรี ถูกจัดว่าเป็นพื้นที่ใน เขตปริมณฑล ที่มีประชากร อยู่กันอย่างหนาแน่น เป็นอันดับสองรองจาก กรุงเทพฯ จนอาจถือได้ว่า จังหวัดนนทบุรี เป็นส่วนหนึ่ง ของเมืองหลวงเลยก็ว่าได้ โดยจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ทางภาคกลาง ของประเทศไทย
  • จังหวัดนนทบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกันได้ ประมาณ 622.30 ตารางกิโลเมตร หรือมีพื้นที่มากกว่า 388,939.37 ไร่
  • จังหวัดนนทบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ ทั้งหมดรวมกันแล้ว ใหญ่เป็นอันดับที่ 75 ของจังหวัด ทั้งหมดในประเทศไทย
  • จังหวัดนนทบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัด ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นอย่างมาก อีกจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากสภาพพื้นที่ ของจังหวัดโดยทั่วไป ตั้งอยู่บนที่ราบ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้ชาวบ้าน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความผูกพัน กับสายน้ำ และนิยมตั้งบ้านเรือน ถิ่นฐานอยู่ ตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา กันอย่างหนาแน่น จะเห็นได้จากชุมชน เก่าแก่ริมแม่น้ำอย่างเช่น บ้านวัดเขมา บ้านตลาดขวัญ บ้านวัดชะลอ บ้านวัดม่วง บ้านบางขนุน เป็นต้น
  • อาณาเขต ของจังหวัดนนทบุรี
    • ทิศเหนือ จรดกับ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • ทิศใต้ จรดกับ กรุงเทพมหานคร ทางด้านฝั่งธนบุรี
    • ทิศตะวันออก จรดกับ กรุงเทพมหานคร ทางด้านฝั่งพระนคร และจังหวัดปทุมธานี
    • ทิศตะวันตก จรดกับ จังหวัดนครปฐม

 

สถานที่ท่องเที่ยว ของจังหวัดนนทบุรี

  • เกาะเกร็ด นนทบุรี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในด้านเครื่องปั้นดินเผา ของชาวไทยรามัญ
  • หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา
  • พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยา
  • วัดปรมัยยิกาวาส

 

     อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2478 และต่อมาได้ รับการประกาศให้เป็น อุทยานประวัติ ศาสตร์เมืองสิงห์ อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530

อ่านต่อ..

จังหวัดนนทบุรี - สถานที่ท่องเที่ยวนนทบุรี - คําขวัญประจําจังหวัดนนทบุรี

วัดเบญจมบพิตร ฯ

วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีชื่อเรียกกันว่า วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ต่อมาได้รับ พระราชทานนามจาก รัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์

อ่านต่อ...