จังหวัดอุทัยธานี - ทัวร์อุทัยธานี - แหล่งท่องเที่ยว จ.อุทัยธานี

จังหวัดอุทัยธานี - ทัวร์อุทัยธานี - แหล่งท่องเที่ยว จ.อุทัยธานี

 

     คำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”

 

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุทัยธานี

  • จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่ตั้งอยู่ทางด้าน ภาคกลางของประเทศไทย
  • จังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่ทั้งหมด รวมกันได้ประมาณ 6,730.25 ตารางกิโลเมตร
  • จังหวัดอุทัยธานี นับได้ว่าเป็นจังหวัด ที่มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกัน ใหญ่เป็นอันดับที่ 29 ของจังหวัดทั้งหมด ในประเทศไทย
  • จังหวัดอุทัยธานี นับได้ว่าเป็นจังหวัด ที่มีประวัติศาสตร์ ที่ยาวนาน และเป็นที่อยู่ ของมนุษย์ ก่อนประวัติศาสตร์ จะเห็นได้จาก มีการค้นพบหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ อาทิเช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณ ภาพเขียนในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ที่หน้าผา บนเขาปลาร้า เครื่องมีหินกะเทาะจากหินกรวด เป็นต้น ซึ่งทั้งหมด มีอายุมากกว่า 3,000 ปีมาแล้ว
  • จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ของจังหวัดโดยทั่วไป มีลักษณะเป็น ภูเขาสูงชัน และมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า นานาชนิด
  • อาณาเขตของจังหวัดอุทัยธานี
    • ทิศเหนือ จรดกับ จังหวัดนครสวรรค์
    • ทิศใต้ จรดกับ จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท
    • ทิศตะวันออก จรดกับ จังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค์
    • ทิศตะวันตก จรดกับ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดตาก

 

สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดอุทัยธานี

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นสถานที่ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จากยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางธรรมชาติ เมื่อปีพุทธศักราช 2534
  • เมืองโบราณบึงคอกช้าง
  • น้ำพุร้อนบ้านเสมอทอง
  • ถ้ำน้ำพุเขากวางทอง
  • เมืองอุไทยธานีเก่า
  • เขาสะแกกรัง

 

     อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2478 และต่อมาได้ รับการประกาศให้เป็น อุทยานประวัติ ศาสตร์เมืองสิงห์ อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530

อ่านต่อ..

จังหวัดอุทัยธานี - ทัวร์อุทัยธานี - แหล่งท่องเที่ยว จ.อุทัยธานี

วัดเบญจมบพิตร ฯ

วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีชื่อเรียกกันว่า วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ต่อมาได้รับ พระราชทานนามจาก รัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์

อ่านต่อ...